เทพประจำคณะ ของ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เทวีแห่งสรรพความรู้อันล้ำเลิศ สัญลักษณ์แห่งศิลปะทุกแขนง และเป็นเทวีแห่ง "อักษรศาสตร์" ประทับอยู่บนดอกบัว แสดงถึงการแสวงหาความรู้ มีพาหนะเป็นหงส์และนกยูง แสดงถึงการแยกแยะระหว่างความจริงและความลวงจากกัน พระองค์ทรงเครื่องดนตรีที่เรียกว่า วีณา หรือ จะเข้ ของอินเดียอยู่เสมอ เป็นสัญลักษณ์แห่งการดนตรีศิลปะทุกแขนงและการสร้างสรรค์ ในพระหัตถ์ทรงถือคัมภีร์พระเวท แสดงถึงความรู้และการศึกษา พระหัตถ์อีกข้างทรงถือลูกประคำ ซึ่งหมายถึงการมีสมาธิในการศึกษาหาความรู้

พระสุรัสวดีประจำคณะอักษรศาสตร์สร้างด้วยทองเหลือง เป็นศิลปะอินเดียในปางยืน สูง 130 เซนติเมตร ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานขึ้นเนื่องในวันสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เพื่อเป็นที่สักการะของอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาของคณะอักษรศาสตร์

เทพเจ้าแห่งการริเริ่มสร้างสรรค์ ขจัดอุปสรรค มักได้รับการบูชาก่อนเทพเจ้าอื่น ๆ ในการเริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ ทรงประทับบนเมฆ พระหัตถ์ขวาบนถือตรีศูล พระหัตถ์ด้านขวาล่างถืองาช้าง พระหัตถ์ซ้ายบนถือปาศะ (เชือก) พระหัตถ์ซ้ายล่างถือครอบน้ำ ประทับลวดลายกนกซึ่งเป็นพระราชนิยม ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) และยังทรงสถาปนาพระพิฆเนศขึ้นเป็นเทพเจ้าประจำ พระราชวังสนามจันทร์ ทั้งยังเป็นตราของ กรมศิลปากร และตราสัญลักษณ์ประจำ มหาวิทยาลัยศิลปากร

พระพิฆเนศประจำคณะอักษรศาสตร์จัดสร้างขึ้นเนื่องในวาระการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ครบรอบ 45 ปี ประกอบพิธีเทวาภิเษกและประดิษฐานในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2556 โดยออกแบบจากตราสัญลักษณ์ประจำคณะ ในปางประทับนั่งมี 4 กร ในพระกรทรงวชิราวุธซึ่งเป็นอาวุธตามพระราชนิยมในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งแสดงถึงการทำลายอุปสรรค

ใกล้เคียง